วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

อาชีพที่ฉันใฝ่ฝัน

อาชีพที่ใฝ่ฝันคือครูเพราะว่าครูเป็นอาชีพที่สุจริตมีศักดิ์ศรีเป็นคนที่สร้างเด็กให้โตมาเป็น
คนดีคนเก่งได้และยังให้นักเรียนโตมามีงานดีๆทำ ทำให้อาชีพครูสำคัญต่อสังคมมากๆ

โรคท้าวแสนปม

“โรคท้าวแสนปม” เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์แต่ไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถทำให้เกิดความผิดปกติที่เนื้อเยื่ออ่อน กระดูก ระบบประสาท และผิวหนัง  ซึ่งจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้มีอาการเหมือนผิวของต้นไม้ ในบางรายที่มีอาการรุนแรงก็อาจจะถึงขั้นเป็นมะเร็งได้ เพราะมีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาทนั่นเอง
 ลักษณะและอาการของโรค
⇒เริ่มแรกผู้ที่เป็นโรคจะมีผื่นขึ้นตามตัวก่อน ซึ่งผื่นชนิดนี้เรียกว่า ผื่นคาเฟโอเล่ (Cafe-au-lait spot) คือจะมีลักษณะเหมือนปาน โดยปกติแล้วคนเราจะมีป อ่านเพิ่มเติม

โรคผิวเผือก

.โรคอัลบินิซึม (albinism) โรคอัลบินิซึม หรือโรคผิวเผือก เกิดจากยีนด้อย ที่มีอยู่ในพันธุกรรม ทำให้ไม่สามารถ สร้างเอนไซม์ เมลาโนโซท์ ไทโรซิเนส melamocyte tyrosinase ที่จะเปลี่ยนไทโรซีน ซึ่งเป็นโปรตีน สำคัญตัวหนึ่ง ไปเป็นเมลานิน melanin ซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ แสดงลักษณะ เผือกคือ มีสีผิวขาว ผมขาว ตาสีขาว ม่านตาสีเทาและโปร่งแสง รูม่านตา สะท้อนแสงออกมาเป็นสีแดง ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โรคอัลบินิซึม albinism หรือโรคผิวเผือก เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมค่ะจึงไม่มีวิธีป้องกัน 
2.โรคจัดอยู่ในกลุ่มประเภทความผิดปกติทางพันธุ์กรรม
3.ผู้ค้นพบ : ไม่พบผู้ค้นพบ
4.สาเหตุของการเกิดโรค  : เกิดจากความผิดปกติทางพันธุ์กรรม   การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดปกติ ซึ่งควบคุมโดยยีนด้อยนั้น แม้จะดูจากภาน อ่านเพิ่มเติม

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
เป็นโรคที่มีความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง จากการที่เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ โรคนี้เป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย พ่อและแม่จะเป็นผู้ถ่ายทอดยีนผิดปกตินี้ไปยังลูก พบผู้ป่วยเป็นโรคนี้ได้ทั่วโลก ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร และพบผู้ที่มียีนแฝง (พาหะ) ประมาณร้อยละ 40 ของประชากร
ผู้ที่เป็นพาหะหรือมียีนแฝงธาลัสซีเมียเป็นอย่างไร
ผู้ที่เป็นพาหะหรือผู้ที่มียีนแฝงของธาลัสซีเมียอยู่ในตัว จะเป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปยังลูกได้ตามแบบแผนการถ่ายทอดของยีน
ทำอย่างไรเมื่อพบว่าคุณเป็นพาหะของโรค
เมื่อตรวจเลือดพ อ่านเพิ่มเติม

โรคดักแด้

โรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB)
             เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างผิวหนัง หากมีคุณพ่อคุณแม่ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน ก็สามารถ่ายทอดผ่านทางยีนเด่น (Autosomal dominant) มาสู่ลูกได้

โรคนี้แบ่งความรุนแรงได้ตามลักษณะโครงสร้างของผิวหนัง ดังนี้
1. Epldermolysis bullosa simplex : เป็นความผิดปกติที่ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ซึ่งเป็นขั้นไม่รุนแรง ส่วนมากจะเกิดในวัยทารก เมื่อมีการเสียดสี กระทบกระทั่ง มีการขัดถูที่ผิวหนัง ก็อาจเกิดเป็นตุ่มน้ำ เมื่อตุ่มน้ำแตกก็เกิดแผล แต่เมื่อแผลหายแล้วจะไม่เป็นแผลเป็น 

2. Junctional EB : เป็นตุ่มน้ำขึ้นที่ชั้นผิวหนังร อ่านเพิ่มเติม

โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช

ถือเป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง เกิดจากการได้สัมผัสสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชเข้า สู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ
ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

  1. ผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น
  2. ผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง เกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง : วิกฤตในระบบอาหารไทยอ่านเพิ่มเติม

โรคหอมหืด

โรคหอมหืด หรือโรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้ (asthma) คือ โรคระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่งซึ่งมีสาเหตุจากความผิดปกติของหลอดลม โดยเมื่อได้รับสารระคายเคืองหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หลอดลมจะเกิดภาวะตีบตัน อากาศจะเข้าสู่ปอดน้อยลง ทำให้หายใจลำบาก หอบ และเหนื่อยง่าย
    
          และเมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้รอบข้าง หรือสารกระตุ้นใด ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ก็อ อ่านเพิ่มเติม